การวางระบบท่อ

การตรวจสอบการแตกรั่วของท่อและอุปกรณ์ประปาภายใน อาคารทำได้ดังนี้
จากการที่การประปานครหลวงได้จัดทำโครงการ”น้ำประปา ดื่มได้” ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2542 จนถึงปัจจุบันโดยให้บริการตรวจสอบ ดูแลแก้ไข และให้คำแนะนำเกี่ยวกับคุณภาพน้ำในอาคารของผู้ใช้น้ำ อาทิเช่น บ้านพักอาศัย โรงเรียน โรงแรม สถานที่ราชการ โรงพยาบาล และศูนย์บริการสาธารณสุข เพื่อให้ผู้ใช้น้ำได้รับความรู้ และมีส่วน ร่วมในกิจกรรมเกี่ยวกับการดูแลรักษาคุณภาพน้ำ ภายใน อาคารของตน จึงเป็นความร่วมมือของทั้งสองฝ่าย ระหว่างการประปานครหลวงและ ประชาชนผู้ใช้น้ำ ซึ่งมีเป้าหมายเดียวกัน ทำให้ “น้ำประปาดื่มได้” บรรลุผลสำเร็จในที่สุด และจากผลการสำรวจพบว่า ประมาณ 1 ใน 3 ของจำนวนอาคารที่ดำเนินการ ตรวจสอบคุณภาพน้ำ ภายในอาคาร ยังไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งเกิดจากระบบท่อและอุปกรณ์ประปาภายใน มีปัญหาและไม่ได้รับ การแก้ไข
ปัญหาคุณภาพน้ำและการแก้ไข
- ท่อประปา
- ท่อประปาเก่าเป็นสนิม ท่อเหล็กอาบสังกะสีที่ใช้งานเป็นเวลานานเกินกว่า 5 ปี อาจเป็นสนิม ทำให้น้ำประปามีคราบแดง เนื่องจากตะกอน สนิมปะปนอยู่ ดังนั้น หากพบว่าท่อเก่าเป็นสนิมควรรีบเปลี่ยนใหม่ ทันที
- ท่อ / อุปกรณ์ประปาแตกรั่ว หากพบว่ามีการรั่วไหลเกิดขึ้นทั้งที่เกิดขึ้นเล็ก ๆ น้อย ๆ จากถังชักโครกหรือถังเก็บน้ำที่ลูกลอยชำรุด ทำให้น้ำไหลทิ้ง อยู่ตลอดเวลา ไปจนถึงการรั่วไหลมากอันเกิดจากท่อแตกรั่ว ใต้ดินที่มองไม่เห็น ควรรีบซ่อมแซมอุปกรณ์เหล่านั้นให้อยู่ ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ (วิธีการตรวจสอบการรั่วไหลได้แนะนำไว้ ในข้อ 2.2) เพราะท่อและ อุปกรณ์ที่รั่วทำให้น้ำสูญเสียไปมาก และอาจเป็นเหตุให้สิ่งสกปรกเข้าไป ในเส้นท่อได้หากท่านใช้ เครื่องสูบน้ำ
- เครื่องสูบน้ำ
การติดตั้งเครื่องสูบน้ำที่สูบโดยตรงจากเส้นท่ออาจดูดสิ่ง สกปรกจากบริเวณใกล้เคียง เช่น น้ำขุ่นจากท่อแตกรั่ว หรือน้ำแดงจาก ท่อสนิม เข้ามาในระบบท่อประปาในอาคารได้ ดังนั้นควรติดตั้งถังพักน้ำ เพื่อสำรอง น้ำไว้ก่อน แล้วจึงสูบจากถังพักน้ำนั้นจ่ายไปยังท่อประปา ภายในอาคาร จะได้น้ำที่สะอาดปลอดภัย
- เครื่องกรองน้ำ
เครื่องกรองน้ำที่ใช้งานมานานโดยไม่ล้างหรือเปลี่ยนไส้กรอง อาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคและแบคทีเรียได้ ควรทำความสะอาด เครื่องกรองน้ำอยู่เสมอ โดยข้อเท็จจริงเครื่องกรองน้ำไม่ใช่สิ่งจำเป็น สำหรับการใช้ น้ำประปา
- ถังพักน้ำ / ถังเก็บน้ำ
ควรล้างทำความสะอาดอย่างน้อยทุก 6 เดือน หากไม่มี การล้างถังพักน้ำ/ถังเก็บน้ำเลย สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่เล็ดรอดเข้าไป จะเจริญเติบโตเพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้น้ำประปาปนเปื้อนสิ่ง สกปรกโดยไม่รู้ตัว ถังพักน้ำมักเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้น้ำ ไม่ได้มาตรฐาน
วิธีทำความสะอาดถังพักน้ำ
ใส่น้ำให้เต็มถังพักน้ำ แล้วใส่คลอรีนน้ำหรือคลอรีนผง โดยให้ใช้ ปริมาณคลอรีน / ปริมาณน้ำ ตามสัดส่วนดังนี้
- คลอรีนชนิดน้ำ 5 % ควรใช้น้ำยาคลอรีน 100 ซี.ซี./น้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร (คิว)
- คลอรีนชนิดน้ำ 10 % ควรใช้น้ำยาคลอรีน 50 ซี.ซี./น้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร (คิว)
- คลอรีนชนิดผง ควรใช้ประมาณ 8 กรัม/น้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร (คิว)
กวนน้ำและคลอรีนให้เข้ากันเพื่อให้คลอรีนทำปฏิกิริยากับน้ำ อย่างทั่วถึง แช่ไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง แล้วจึงปล่อยน้ำคลอรีนออกจาก ถังพักน้ำให้หมด คลอรีนจะฆ่าเชื้อโรคภายในถัง จากนั้นจึงใส่น้ำประปา ที่สะอาดลงไป จะทำให้น้ำประปาที่นำไปใช้ในอาคารเป็นน้ำที่มีคุณภาพดี สะอาด ปราศจากเชื้อโรค
จำนวนผู้ใช้น้ำ (คน)
บ้านพักอาศัย
สำนักงาน
ใช้ถังขนาดความจุ (ลิตร )
5 | 20 | 1,000 |
6 | 25 | 1,200 |
7-8 | 32 | 1,600 |
9-10 | 40 | 2,000 |
11-15 | 60 | 3,000 |
รูปแบบการติดตั้งถังพักน้ำและเครื่องสูบน้ำที่ถูกต้อง

